วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2559

Brunei (Y^Y)$

GDP 11.6US$bn ปี 2558
GDP Per Capita(ต่อหัว) (US$) 27,759
จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่างๆใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
จุดแข็ง (Strengths)
  • เป็นประเทศที่ประชากรมีรายได้สูงและมีกำลังซื้อมาก มีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน และสูงเป็นลำดับที่ 20 ของโลก รายได้ต่อหัวของประชากรมากกว่า 40,000 เหรียญสหรัฐต่อปี
  • เป็นประเทศที่มีความมั่นคงทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง
  • รัฐบาลบรูไนมีความพยายามพัฒนาภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ให้เติบโตนอกเหนือจากกลุ่มธุรกิจพลังงานซึ่งเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญ เพื่อการกระจายความเสี่ยงทางเศรษฐกิจให้มีความหลากหลายและมั่นคงยิ่งขึ้นในระยะยาว อีกทั้งยังมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
จุดอ่อน (Weaknesse)
  • ตลาดเพื่อการบริโภคในประเทศมีขนาดเล็กเนื่องจากมีประชากรประมาณ 450,000 คน
  • บรูไนเป็นประเทศที่ขาดแคลนแรงงานและช่างฝีมือแรงงาน จำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานต่างชาติเป็นจำนวนมาก แรงงานส่วนใหญ่มาจากอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ไทย อินเดีย และ บังคลาเทศ
  • บรูไนเป็นประเทศมุสลิมที่มีความเคร่งครัด ทำให้มีข้อจำกัดทางการค้าที่เคร่งครัดเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าประเภทอาหารซึ่งกำหนดให้เป็นอาหารฮาลาลเท่านั้น โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ ได้แก่ เนื้อโค กระบือ แพะ แกะ และไก่



  • เศรษฐกิจบรูไนค่อนข้างพึ่งรายได้จากการส่งออก โดยรายได้หลักมาจากการขายน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และมีฐานะเกินดุลการค้าในระดับสูง
  • บรูไนมีบทบาทเป็นผู้ส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ที่พึ่งพาภาคธุรกิจดังกล่าวค่อนข้างมาก ราวร้อยละ 62 ของ GDP โดยในปี 2553 บรูไนเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 3 ของเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ และยังเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) รายใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก
  • บรูไนมีแนวนโยบายลดการพึ่งพาเศรษฐกิจน้ำมัน และพยายามสนับสนุนภาคธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน ที่มีความหลากหลายมากขึ้น (Diversification) โดนเน้นการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคเอกชนมาก ขึ้น ในภาคธุรกิจบริการการเงินอิสลาม อุตสาหกรรมอาหารฮาลาล และธุรกิจ SMEs ทั้งยังอยู่ ระหว่างการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อให้เอกชนมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจมากขึ้น


สถานการณ์เศรษฐกิจทั่วไปปี 2554
ภาคธุรกิจ: จากข้อมูลล่าสุดของ ทางการบรูไนพบว่า เศรษฐกิจบรูไน ในช่วงไตรมาส 3/2554 เติบโตร้อย ละ 2.5 โดยเป็นแรงขับเคลื่อน จากเศรษฐกิจภาคน้ำมันเป็นหลัก กระนั้นก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่าธุรกิจที่ ไม่ใช่น้ำมันมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะสาขาธุรกิจค้าปลีก ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และบริการขนส่งและ โทรคมนาคม
ภาคการลงทุน: การลงทุนจากต่างชาติในบรูไนปี 2554 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 34 จากปีก่อน โดยสาขาธุรกิจหลักที่ดึงดูดการลงทุนเป็นกลุ่มพลังงานและเหมืองแร่ ซึ่งผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดโลก ได้เข้ามาลงทุนในบรูไนมาจากหลายสัญชาติ อาทิ อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ และญี่ปุ่น


แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2555 และปี 2556
เศรษฐกิจบรูไนปี 2555 และ 2556 น่าจะเติบโตต่อเนื่องจากที่ ขยายตัวร้อยละ 1.9 ในปี 2554 (ตัวเลขประมาณการ) เพราะด้วยเศรษฐกิจบรูไนที่พึ่งพา การส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นสัดส่วนหลัก และแนวโน้มราคาน้ำมันในปี 2555 น่าจะ ยังคงอยู่ในระดับค่อนข้างสูงแม้จะลดระดับจากปีก่อนลงบ้าง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยหนุนสำคัญจาก การส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนมากขึ้น ซึ่งน่าจะมีการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน ได้พอสมควร โดยเฉพาะนโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศและเขตอุตสาหกรรมหลาย แห่งในประเทศ
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจ ปี พ.ศ. 2557 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยเสถียรภาพภายในและภายนอกประเทศยังคงแข็งแกร่งสามารถรองรับ การขยายตัวในอนาคต สะท้อนได้จากอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ การเกินดุลการคลังต่อเนื่องและ การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ในระยะปานกลางบรูไนอาจจะเผชิญความเสี่ยงจากค่าเงินที่แข็งค่าขึ้นของค่าเหรียญบรูไน เนื่องจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นระยะ


ธุรกิจที่ไทยมีศักยภาพ ในการลงทุนในประเทศบรูไน
ธุรกิจที่ไทยมีศักยภาพ ในการลงทุนในประเทศบรูไน • ในปัจจุบันการลงทุนของธุรกิจไทยในบรูไนยังมีค่อนข้างน้อย แต่คาดว่าในระยะข้างหน้า เมื่อ อาเซียนก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 จะเอื้อโอกาสทางการลงทุนของธุรกิจไทยในบรูไน ในหลายสาขา อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตปิโตรเคมีขั้นปลายน้ำต่างๆ ธุรกิจแปรรูปอาหาร โดยเฉพาะ อาหารฮาลาล เนื่องจากปัจจุบันบรูไนต้องพึ่งพานำเข้าสินค้าอาหารพอสมควร ธุรกิจเคมีภัณฑ์ ธุรกิจ บริการอื่นๆ เช่น ธุรกิจก่อสร้าง รวมถึงธุรกิจการผลิต เพื่อส่งออกในเขตอุตสาหกรรมการส่งออก อันจะเอื้อ สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนทางภาษี


ปัจจัย เสี่ยง พึงระวัง
• บรูไนมีข้อจำกัดด้านตลาดผู้บริโภคมีขนาดเล็ก และมี จำนวนแรงงานค่อนข้างน้อย
• ความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างแน่นแฟ้นของบรูไนกับสิงคโปร์ และมาเลเซีย ทั้งยังมีความสะดวกในการคมนาคมขนส่ง ระหว่างกัน รวมถึงวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน อาจเป็น ข้อจำกัดการเข้าสู่ตลาดของธุรกิจไทย
• บรูไนค่อนข้างเคร่งครัดในการปฏิบัติตามหลักศาสนา อิสลาม และต้องขออนุญาตติดตราอาหารฮาลาลจาก ทางการบรูไน ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจฮาลาลควรเคร่งครัด และใส่ใจในมาตรฐานและถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม เพื่อสร้างความไว้วางใจในแบรนด์สินค้าไทย ท่ามกลาง คู่แข่งจากประเทศมุสลิมอื่นๆ

การขนส่งสินค้า



ทางบก
ประเทศบรูไนมีทางหลวงสายหลักสายเดียวคือ Muara – Jerudong – Tutong มีความยาวประมาณ 1,712 กิโลเมตร


ทางอากาศ
สายการบินรอยัลบรูไน


ทางน้ำ
ประเทศบรูไนมีท่าเรือที่ขนสินค้าอยู่ทั้งหมด 6 แห่ง โดยแบ่งเป็นของภาครัฐ 3 แห่ง และภาคเอกชน 3 แห่ง ท่าที่เป็นของรัฐบาลบรูไน ได้แก่
1. ท่าเรือมัวรา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือห่างจากเมืองหลวง 27 กิโลเมตร เป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ท่าเรือบันดาร์เสรเบกาวัน เป็นท่าเรือที่รับเฉพาะเรือที่มีความยาวไม่เกิน 30 เมตร และมีความลึกไม่เกิน 5 เมตร
2. ท่าเรือบันดาร์เสรเบกาวัน เป็นท่าเรือที่รับเฉพาะเรือที่มีความยาวไม่เกิน 30 เมตร และมีความลึกไม่เกิน 5 เมตร
3. ท่าเรือกัวลาบือเลต ตั้งอยู่ที่แม่น้ำบือเลตรับเฉพาะเรือที่มีความยาว 60 เมตร เพราะท่าเรือยาว 61 เมตร โดยมากเรือที่เข้าเทียบท่ามักจะเป็นเรือจากประเทศเพื่อนบ้าน
ส่วนท่าเรือเอกชนของบรูไนมีอีก 3 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือซีเรีย ท่าเรือลูมูต และท่าเรือตันหยงลีรัง
แผนที่การลงทุนของธุรกิจไทยในประเทศบรูไน






































ภาษีนำเข้า
โดยทั่วไปมีการเรียกเก็บในสินค้าแต่ละประเภท ดังนี้

  1. อาหาร สินค้าเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม ได้รับการยกเว้นภาษี
  2. เครื่องมือและเครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ไม้ซุง อุปกรณ์และเครื่องด้านการถ่ายภาพ เฟอร์นิเจอร์ยานพาหนะและอะไหล่ เรียกเก็บอัตราร้อยละ 20
  3. น้ำหอมและเครื่องสำอาง ร้อยละ 30

ประชากร
ประชากรโดนเฉลี่ยน ประมาณ 400,569 คน ในปี2553
โดยในปี 2553
อายุ 0-14 มี 26.2%

อายุ 15-64 มี 70.2%

อายุ 65 ปีขึ่นไป มี 3.6 % โดยประชากรทั้งหมด 100%

ภูมิศาสตร์


เกาะบอร์เนียวล้อมรอบด้วยทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลซูลูทางตะวันออกเฉียงเหนือ ทะเลเซเลบีสกับช่องแคบมากัสซาร์ทางตะวันออก และทะเลชวากับช่องแคบการีมาตาทางใต้

ดินแดนทางตะวันตกของเกาะบอร์เนียวได้แก่ คาบสมุทรมลายูและเกาะสุมาตรา ทางใต้ได้แก่ เกาะชวา ทางตะวันออกได้แก่ เกาะซูลาเวซีและหมู่เกาะโมลุกกะ ส่วนทางตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ หมู่เกาะฟิลิปปินส์

จุดสูงที่สุดของเกาะบอร์เนียว คือภูเขากีนาบาลูในรัฐซาบาห์ ประเทศมาเลเซีย มีความสูง 4,101 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น